องค์การอาหารและยา หรือ อย. ของสหรัฐอเมริกา (US-FDA) เปิดช่องเอื้อการสื่อสารและเปิดโอกาสผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ ภายใต้การควบคุมมาตรฐานอย่างโปร่งใส ชูข้อความ “ลดการได้รับสารอันตรายได้” อ้างอิงการปล่อยสารอันตรายออกมาน้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบมวน

1 min read

องค์การอาหารและยา หรือ อย. ของสหรัฐอเมริกา (US-FDA) เปิดช่องเอื้อการสื่อสารและเปิดโอกาสผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ ภายใต้การควบคุมมาตรฐานอย่างโปร่งใส ชูข้อความ “ลดการได้รับสารอันตรายได้” อ้างอิงการปล่อยสารอันตรายออกมาน้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบมวน

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา อย.สหรัฐ ประกาศอนุญาตให้ผู้ผลิต สื่อสาร ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ ในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงหรือ เอ็มอาร์ทีพี (Modified Risk Tobacco Product: MRTP) อ้างกระบวนการปล่อยสารอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบมวน เนื่องจากการทำงานโดยการให้ความร้อนกับใบยาสูบแทนการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งกรณีหลังทำให้เกิดควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นอกเหนือจากการเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนตัวแรกที่สามารถวางจำหน่ายได้อย่างถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกาแล้ว ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนตัวแรกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ข้อความ “ลดการได้รับสารอันตรายได้” ในการสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ และเป็น ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนหรือยาสูบแบบไร้ควัน เป็นผลิตภัณฑ์ตัวที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตจากทางอย.สหรัฐฯ ให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง (MRTP)
ในรายละเอียด ข้อมูล ที่ทางอย.สหรัฐฯ อนุญาตให้ทาง พีเอ็มไอ สามารถสื่อสารผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคได้ มี 3 ข้อความได้แก่
– ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอเป็นการให้ความร้อนแก่ยาสูบ แต่ไม่มีการเผาไหม้
– ลดการเกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
– การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่มวนแบบเดิมมาเป็นผลิตภัณฑ์ไร้ควันที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายนี้ สามารถลดการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ

โดยมีหมายเหตุสำคัญที่ทางอย.สหรัฐฯ ไม่ละเลยต่อผู้บริโภคว่า การอนุญาตครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ายาสูบไร้ควันปลอดภัย แต่เป็นทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่ได้

อย. สหรัฐ ได้กล่าวในเอกสารเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ระบุเหตุผลที่อนุญาตให้มีการสื่อสารผลิตภัณฑ์นี้ได้ว่า ทางผู้ผลิต ได้ส่งข้อมูลที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการทำการตลาด ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน โดยสื่อสารข้อความที่ได้รับอนุญาต สามารถช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่เปลี่ยนจากการสูบบุหรี่ได้ซึ่งจะช่วยลดการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม การอนุญาตนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยทางอย.สหรัฐฯ ระบุว่า ทางบริษัทผู้ผลิตจะต้อง “ดำเนินการศึกษาติดตามผล” หลังการขายเพื่อพิจารณาว่า MRTP ยังคงเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่มเยาวชนด้วย

มร. มิทช์ เซลเลอร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ อย. สหรัฐ กล่าวในแถลงการณ์ ถึงการดำเนินงานว่า “ทาง อย. จะติดตามดูการใช้ของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตรงกับศักยภาพและไม่เพิ่มการใช้ของเด็กและเยาวชน ที่สำคัญที่ควรทราบคือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ปลอดภัย ดังนั้นประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอยู่แล้ว ไม่ควรจะริเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์นี้หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่น ๆ”

สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเช่นเดียวกับ อังกฤษและนิวซีแลนด์ ที่ได้สนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาลดอัตราการเสพติดบุหรี่แบบมวน ซึ่งมีผลเสียหลายด้านและรุนแรงต่อสุขภาพโดยใช้ทางเลือกอย่างการอนุญาตให้เข้าถึงและใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน หรือ บุหรี่ไฟฟ้า โดยมีกฎหมายควบคุมมาตรฐาน ตามมาตรฐานหน่วยงาน องค์การอาหารและยา (US-FDA) แทนการห้ามอย่างเด็ดขาด และพบอัตราการสูบบุหรี่ลดลง

ขณะที่ประเทศไทยยังเป็น 1 ใน 31 ประเทศ ที่ยังคงใช้กฎหมายห้ามเด็ดขาดหรือแบน การผลิต นำเข้า ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 ซึ่งเป็นการปิดโอกาสในการนำบุหรี่ไฟฟ้ามาใช้อย่างโปร่งใสและปลอดภัย ทั้งยังเอื้อให้เกิดช่องทางการค้าขายที่ผิดกฎหมาย การลักลอบใช้งานอย่างผิดๆ ขาดการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและบริการ รวมทั้งผลเสียด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการหลีกเลี่ยงภาษี

ในฝั่งของผู้บริโภคไทย ได้มีการรวมตัวในชื่อ กลุ่มลาขาดควันยาสูบ หรือ อีซีเอสที (ENDS CIGARETTE SMOKE THAILAND หรือ ECST ) ซึ่งได้ผลักดันให้มีการสื่อสาร ข้อมูลที่มีการศึกษาอย่างถูกต้อง หลากหลายมิติ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของการใช้งานอย่างปลอดภัยบนพื้นฐานของสถานการณ์จริงในสังคมของกลุ่มผู้ติดบุหรี่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่แต่ยังไม่สามารถเลิกเด็ดขาดได้อย่างฉับพลัน แนวทางการดำเนินงานของอย.สหรัฐฯ เป็นตัวอย่างที่น่าจะได้รับการพิจารณาปรับใช้ในประเทศไทยได้

# # # #

ที่มา
· https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-authorizes-marketing-iqos-tobacco-heating-system-reduced-exposure-information?utm_source=Eloqua&utm_medium=email&utm_term=stratcomms&utm_content=pressrelease&utm_campaign=CTP%20News%26Connect%26MRTP%20Updates%3A%20IQOS%20MRTP%20-%207720
· https://www.bloomberg.com/news/articl

You may have missed