โชว์คำสั่ง กทม. เปิดทางเอกชนกินรวบสัมปทาน ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน

1 min read

พิมพ์ไทยออนไลน์ // กังขา กทม. เปิดทางเอกชนกินรวบ สัมปทานท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน สั่งทุกหน่วยงานรื้อสายสื่อสารในเขต กทม. แม้แต่ กฟน. – TOT ยังโดนหางเลข หวังบีบมาใช้ท่อร้อยสายของ กทม. ล่าสุดเดินหน้าเปิดตัวโครงการแล้ว

 

 

จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ได้รุกคืบดำเนินโครงการท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินมูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท และเตรียมเซ็นสัญญากับบริษัทลูก
ทรูคอร์ปอเรชั่น ให้เข้ามาเป็นผู้รับเหมาโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินทั้งหมดไปทำการตลาดระยะเวลา 30 ปี ก่อนที่ กทม. จะมีคำสั่งห้ามบริษัทสื่อสาร หรือผู้ให้บริการสายสื่อสารราย
อื่นดำเนินการพาดสายในทุกพื้นที่ในเขต กทม.นั้น

ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์ รายงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์
ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ของกรุงเทพฯ และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช.) ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการ ก่อสร้างโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในเขต กทม. และร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ MOU ความร่วมมือโครงการส่งเสริมการ
พัฒนาและกำหนดแนวทางการนำสายสื่อสารลงใต้ดินระหว่างกรุงเทพมหานครกับ สำนักงาน กสทช. ที่บริเวณห้างสรรพสินค้า เดอะสตรีท รัชดา ซึ่งเท่ากับเป็นการลุยขับเคลื่อนโครงการดัง
กล่าว โดยไม่สนใจประเด็นปัญหาข้อกฎหมายและข้อท้วงติงของสมาคมโทรคมนาคมและบริษัททีโอทีแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ยังได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศมาตรา 39 แห่งพระราช
บัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 เห็นชอบมติคณะกรรมการดิจิ
ทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ที่เห็นชอบให้กรุงเทพฯก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสาย
สื่อสารที่ไม่เป็นระเบียบและเป็นอันตรายต่อประชาชน

 

เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามคณะมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้าพนักงานปกครองท้องถิ่น จึงออกประกาศโฆษณา พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 44 (1) ดังนี้

1. การติดตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งของใดในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงาน เป็นความผิดซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และเจ้า
พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำปลดหรือถอนภายในเวลาที่กำหนด ถ้าผู้นั้นละเลย เพิกเฉย นอกจากจะมีความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ให้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ตามมาตรา 39 ประกอบมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ
บ้านเมือง พ.ศ. 2535 และต้องชำระค่าปรับวันละหนึ่งหมื่นห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตร 63/23(2)

2. สายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่จะอนุญาตให้บุคคลใดติดตั้ง วางหรือแขวนในที่สาธารณะ ผู้กระทำต้องดำเนินการปลดหรือรื้อถอนออก

3. สายสื่อสารที่ติดตั้ง วางหรือแขวนในที่สาธารณะ เมื่อมีท่อร้อยสายใต้ดินในพื้นที่ดังกล่าว ย่อมไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะอนุญาตให้บุคคลใดติดตั้ง วาง และแขวนในที่สาธารณะ ผู้
กระทำต้องปลดหรือรื้อถอนออก

การออกประกาศกรุงเทพมหานครดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า มุ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายเดียวที่มีสิทธิ์จะให้บริการท่อร้อยสายทั่ว กทม. ทั้งที่ก่อนหน้านี้ บริษัททีโอทีและบริษัทสื่อสาร
โทรคมนาคม มีโครงการแก้ปัญหาสายสื่อสารที่ไม่มีความเป็นระเบียบเหล่านี้อยู่แล้ว ตามมติของคณะกรรมการดีอี และนโยบายรัฐบาล

โดยบริษัททีโอทีนั้น มีโครงการ “มหานครอาเซียน” ในการลงทุนวางท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกับ กทม. และได้มีการหารือร่วมกับบริษัทสื่อสารเอกชน 7
ราย เพื่อเชิญชวนให้มาใช้ท่อร้อยสายดังกล่าว แต่ยังติดขัดในเรื่องอัตราค่าบริการเช่าท่อที่บริษัทเอกชนท้วงติงว่าสูงเกินไป

ขณะที่สมาคมโทรคมนาคมเองฯ ก็มีแผนที่จะร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ท่อร้อยสายบนอากาศมาใช้และอยู่
ระหว่างการจัดทำแผนโมเดลจัดระเบียบสายสื่อสารดังกล่าว

แต่ล่าสุดผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ก็ออกประกาศกรุงเทพมหานครดังกล่าว เพื่อสกัดกั้นไม่ให้บริษัทสื่อสารรายอื่น รวมทั้งหน่วยงานของรัฐอย่างทีโอที และ กฟน. เข้ามาแข่งขันหรือพาดสายสื่อ
สารแข่งกับ กทม.

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า การดำเนินการของ กทม. ในการให้บริษัทกรุงเทพธนาคม (KT) ที่อ้างว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทที่ 3 จาก กสทช. แล้ว รับ
หน้าเสื่อก่อสร้างโครงขายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน และเจรจาดึงบริษัทลูกของกลุ่มทรูคอร์ป เข้ามารับสัมปทานทำการตลาดให้ 30 ปี โดยบริษัทลูกของกลุ่มทรูดังกล่าว จะรับเหมาโครง
ข่ายท่อร้อยสาย 80% ออกไปทำการตลาดให้นั้น ยังคงมีปัญหาข้อกฎหมายว่า เป็นการให้สัมปทานที่เข้าข่ายตาม พ.ร.บ.การลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.พีพีพี) หรือไม่

เนื่องจากโครงการนี้มีการลงทุนถึง 25,000 ล้านบาท และมีระยะเวลาสัมปทานถึง 30 ปี อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริหาร กทม. ข้างต้น ยังส่อให้เห็นถึงการออกกฎหมายและข้อบัญญัติใน
ลักษณะที่เอื้อให้แก่เอกชนบางรายอีกด้วย.

Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=544

You may have missed