รัฐบาลใหม่เร่งอัดฉีดรากหญ้า ได้เวลารวย สไตล์บิ๊กสหพัฒน์ฯ
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // จังหวะนี้นับเป็นอีกโอกาสที่จะเริ่มเป็นจ้าของธุรกิจสำหรับพวกที่ยังรีๆ รอๆ เมื่อรัฐบาลใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่ 2 น่าจะตั้งคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้เป็นรูปเป็นร่าง และต้องเร่งมาตรการอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้า เพิ่มการบริโภคภายในประเทศ โดยกระทรวงการคลังออกมารับลูก ด้วยการเตรียมงบถึง 5 หมื่นล้านบาท รอ ครม.ใหม่อนุมัติใช้ได้ทันที
การเพิ่มบริโภคในประเทศเพื่อหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว นับเป็นโอกาสที่สินค้าหรือบริการหลายบริษัทจะเตรียมกิจกรรมไว้ชิงเงินที่สะพัด 5 หมื่นล้านบาท รวมทั้งยักษ์วงการสินค้า
อุปโภคบริโภคสหพัฒนพิบูล หรือ สหพัฒน์ฯ ลองมาดูว่า การขยายธุรกิจสไตล์ “โตแล้วแตก แตกแล้วโต” จนยอดขายทั้งกลุ่มรวมมากถึงปีละหลายหมื่นล้านบาท สหพัฒน์ฯ ซึ่งเคยเป็นผู้
ประกอบการรายเล็ก หรือเอสเอ็มอี มีพัฒนาการอย่างไร
กลุ่มสหพัฒน์ฯ ที่เริ่มแยกจากกงสีซึ่งขายสินค้าเกษตร ขยับไปขายสินค้าเบ็ดเตล็ด ปรับตัวเข้าสู่ยุคลงทุนตั้งโรงงานผลิตทดแทนนำเข้า และเปลี่ยนตามศาสตร์ทางการตลาดจนเติบโตหลาย
หมื่นล้าน นับว่ามีบทเรียนให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ในยุค ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และกำลังเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ อินเทอร์เน็ตออฟธิงก์หรือไอโอที ยุคหุ่นยนต์หรือโรบอต
เทคโนโลยี 5จี จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความมั่งคั่งได้
ตามบันทึกของ ”ดร.เทียม โชควัฒนา” ผู้ก่อตั้งสหพัฒน์ฯ หรือนายห้างเทียม ได้ถ่ายทอดประสบการณ์เมื่อครั้งที่รัฐบาลปี 2518 ผันเงิน 2,500 ล้านบาทสู่ชนบท โดยเพื่อนที่ต่างจังหวัดเล่า
ให้ฟังว่า “เงินผันที่จะลงไปในจังหวัดนั้นซึ่งมี 500 ตำบลจะได้เงินตำบลละ 5 แสนบาท เงินจะถึงมือชาวบ้านประมาณ 65-70% ที่เหลืออยู่ในมือผู้มีอิทธิพลที่จัดสรรเงิน แต่จากที่ชาวไร่
ชาวนาฉลาดขึ้นกลุ่มอิทธิพลไม่กล้าทำอะไรโจ่งแจ้งมาก ซึ่งพวกชาวไร่ชาวนาหาเช้ากินค่ำเมื่อได้เงิน ก็จะใช้ซื้อของในตลาด จากนั้นพ่อค้าจะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ รัฐบาลก็จะเก็บ
ภาษีจากผู้ประกอบการได้ 30% สร้างกระแสหมุนเวียน 3-4 เดือน”
ดังนั้น “ถ้า ครม.ใหม่ เข้ามาอนุมัติงบอัดฉีด 5 หมื่นล้านเข้าระบบภายในเดือน มิ.ย.นี้ จะเกิดการหมุนเงินไปได้ยาวรับกับช่วงเทศกาลปลายปีพอดี”
โดยเมื่อย้อนการเริ่มธุรกิจสร้างความร่ำรวยมาถึงปัจจุบัน กลุ่มสหพัฒน์ฯ เริ่มแยกตัวจากกงสีร้านเฮียบฮะ ที่ตึกเจ็ดชั้น ถนนเยาวราช ที่ค้าขาย เช่น ข้าวสาร น้ำตาล ถั่ว และแป้งหมี่ มาเปิด
ร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่ตรอกอาเนียเก็ง ทรงวาด ค้าขายเช่น เสื้อผ้า ยารักษาโรค เครื่องกระป๋อง เพราะนายห้างเทียม เห็นว่า การขายเสื้อกล้ามหนึ่งโหลได้กำไรดีกว่าสินค้าเกษตรมาก
รวมทั้งช่วงนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลก สินค้านำเข้าขาดตลาด ขณะที่กลุ่มสหพัฒน์ฯ นายห้างเทียมได้ส่งน้องชายไปตั้งบริษัทที่ฮ่องกง นำเข้าสินค้าจาก ฮ่องกง และญี่ปุ่น รู้แนวโน้มของโลก
นอกจากนี้ช่วงที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม “มิสเตอร์โอกาดะ“ โดนพันธมิตรจับไปคุมขัง โดยฝากเงินและรถยนต์ไว้ ดังนั้น เมื่อโอกาดะออกจากโดนคุมขัง จึงได้ร่วมกับตั้งบริษัทเคียวโกะ ที่ญี่ปุ่น หา
สินค้าดีมาให้สหพัฒน์ฯ ขาย เช่น ซิป YKK กระดุม ด้าย กระติกน้ำตรานกยูง หีบเพลงปากยี่ห้อบัตเตอร์ฟลาย ออร์แกนยามาฮ่า ซึ่งโลกยุคปัจจุบัน การค้าออนไลน์ สามารถค้นหาหรือเสิร์
ซสินค้าที่ขายดีได้ทั่วโลก และสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซได้
มาถึงยุคลงทุนผลิตทดแทนการนำเข้า ทางกลุ่มสหพัฒน์ นอกจากลงทุนโรงงานผลิตสินค้าดัง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ผงซักฟอกยี่ห้อเปา เสื้อผ้าแบรนด์ดัง อย่าง ลาคอสต์ วาโก้
เครื่องสำอาง เช่น เพี้ยซ บางสินค้าที่เป็นเรื่องใหม่ เมื่อครั้งที่ข้ามไปลงทุนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่นตั้งโรงงานผลิตเครื่องคิดเลขในไทย โดยดึงสหรัฐ และไต้หวันมาร่วมลงทุน มีการใช้
กลยุทธ์โลกล้อมไทย ด้วยการผลิตช่วงแรก จะส่งสินค้าออกไปขายที่สหรัฐ กับ ยุโรป จนมีชื่อเสียงยี่ห้อเป็นที่ยอมรับ ก่อนจะเข้ามารุกทำตลาดในไทย
จากนั้นก็ถึง ”จุดก้าวกระโดด” เมื่อสหพัฒน์ฯ นำศาสตร์การตลาด วิจัย พัฒนาสินค้า วางแผนจำหน่าย ตั้งราคาขายให้แข่งขันได้ และจัดกิจกรรม โฆษณา ส่งเสริมการขาย เพื่อแข่งกับบริษัท
ข้ามชาติจากสหรัฐ ยุโรป
รวมทั้งเอเชีย อย่างกรณีแจ้งเกิดมาม่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2515 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่พาดหัว “พบอันตรายจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้บริโภคมากอาจเป็นอัมพาต” ทำให้บะหมี่ ซันวา และ
ยำยำ ที่วางขายขณะนั้นยอดขายหล่นวูบ มีการติดต่อกระทรวงสาธารณสุขให้ออกมายืนยันก็ยังไม่ฟื้น
แต่เมื่อรอไป 5 เดือนสถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย มาม่าจึงแจ้งเกิดอัดงบโฆษณา ทำตลาดครบวงจร บริหารการขายให้สินค้าหมุนเร็วดูสดใหม่ เรียกความเชื่อมั่นเป็นผู้นำได้ถึงปัจจุบัน
ขณะกลุ่มเครื่องสำอาง ได้ความเชี่ยวชาญด้านช่องทางจำหน่าย การโฆษณา จาก Max Factor ที่เสนอให้มีการอบรมพนักงานขายเครื่องสำอางส่งไปประจำห้างสรรพสินค้า โดยบริษัทต้องจ่าย
เงินเดือนและให้ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย ซึ่งขัดแย้งกับการขายในอดีต เมื่อบริษัทขายสินค้าให้ห้างสรรพสินค้าทางนั้นจะได้กำไร 20% ทำไมบริษัทต้องเสียค่าจ้างพนักงานขายอีก รวมทั้ง
Max Factor แนะนำให้เลิกขายผ่านสำเพ็ง ที่เป็นช่องทางขายใหญ่ของบริษัท ทางสหพัฒน์ฯ จึงไม่เห็นด้วย แต่ทาง Max Factor ยืนยันว่า วิธีนี้สำเร็จมาแล้วทั่วโลก ดำเนินการมานาน มีการ
ปรับปรุงให้เหมาะกับแต่ละประเทศมาต่อเนื่อง และเมื่อทำตามหลักการนั้นทำให้เครื่องสำอาง เช่น เพี้ยซ โคตี้ เท็ลมี ประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน
นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัว ”ตามปรัชญาของนายห้างเทียม เร็ว-ช้า-หนัก-เบา ต้องรู้จังหวะ“
โดยเฉพาะยุคดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ที่ขณะนี้กำลังวนกลับมา นำรูปแบบการตลาดสมัยดั้งเดิมไปใช้บนแพลตฟอร์มใหม่ เมื่อผู้บริโภคใช้เทคโนโลยีเป็นมากขึ้นกว่าการส่งสติ๊กเกอร์สวัสดีวันจันทร์
เช่น ช่องทีวีสมัยใหม่ ที่เมื่อดูย้อนหลังผ่านแพล็ตฟอร์มต่างๆ จะมีการแทรกโฆษณาที่ห้ามกดข้ามหรือสคิป (Skip) จากเดิมให้สคิปข้ามได้ใน 3-6 วินาที เมื่อเป็นเช่นนี้ทางผู้ดูก็ใช้วิธีไป
เปิดดูหน้าจออื่น ช่วงที่สคิปข้ามโฆษณานั้นไม่ได้ พอโฆษณาจบก็ค่อยเปิดหน้าจอเดิมดูละครย้อนหลังต่อ เหมือนกับกดรีโมตทีวี ไปดูช่องอื่นช่วงที่ช่องละครโฆษณา หรือบางคนยอมเสียเงิน
5 เหรียญสหรัฐโหลดแอพบล็อกโฆษณาไม่ให้มาโผล่ได้ทั้งหมด
บนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด โอกาสที่ ครม.เตรียมอัดฉีดเงินจึงถือเป็นจุดน่าจะเริ่มสร้างธุรกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเปิดโอกาสมากกว่า ต้นทุนต่ำกว่า มีประสิทธิภาพตรงเป้าหมายกว่าสมัย
นายห้างเทียมเยอะ ..
จังหวะนี้ จึงอาจเป็นก้าวเดินแรกที่อาจจะนำไปสู่ความมั่งคั่งเหมือนกลุ่มสหพัฒน์ฯ ก็เป็นได้ งานนี้ต้องเริ่มทันที!
โดย-คนฝั่งธนฯ
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=525