พิโก-นาโน ไฟแนนซ์…เพี้ยนไปแล้ว ?
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // เหลือบไปเห็นข่าว ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่อาวุโส ผู้บริหารบริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี ออกมาแถลงข่าวสุดบิ๊กบึ้ม KTC เตรียมจะดำเนินธุรกิจใหม่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ พิโกไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (รถแลกเงิน) ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้
โดย พิโก้ไฟแนนซ์ จะดำเนินการผ่าน บริษัทเคทีซีพิโก (กรุงเทพ) จำกัด ซึ่งอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินธุรกิจในกรุงเทพฯ และจะเป็นโฮลดิ้ง คัมปานี ที่ถือหุ้นในบริษัทพิโก ไฟแนนซ์ ใน
จังหวัดอื่นๆ ตามมา โดยขณะนี้ได้ขอ License ในจังหวัดอื่นพร้อมกันไป 4-5 จังหวัดแล้ว
ส่วนนาโนไฟแนนซ์จะดำเนินการภายใต้บริษัทเคทีซีนาโน จำกัด ที่อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เช่นกัน
ขณะที่ ธุรกิจ “รถแลกเงิน” นั้น ได้ไลเซ่นส์หรือใบอนุญาต จาก ธปท.แล้ว แม้ว่าหนี้กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยง แต่บริษัทจะควบคุมคุณภาพสินเชื่อ รวมทั้งมีกระบวนการติดตามทวงถามหนี้ที่มีประสิทธิภาพที่คาดว่าจะ
สามารถควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL ให้อยู่ในอัตราที่ต่ำได้
หลายฝ่ายอ่านแล้ว ก็คงนึกชื่นชมกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารเคทีซี ต่อการกระโดดเข้ามาร่วมวงไพบูลย์ตลาดสินเชื่อพิโกและนาโน ไฟแนนซ์ ตลอดจนสินเชื่อรถแลกเงินที่ถือเป็นตลาดใหญ่ ที่มีอัตราเติบโตสูงลิ่วในเวลานี้
มีพอร์ตสินเชื่อทั้งระบบมากกว่า 2-3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากจะย้อนกลับไปพิจารณานโยบายของกระทรวงการคลัง ในการผุดพิโกไฟแนนซ์ และนาโนไฟแนนซ์ตลอดจนการผลักดัน พระราชบัญญัติผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับ พ.ศ…. ที่ทำไปทำมา
ได้กลายมาเป็นประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำกับดูแล ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทนาโนและพิโกไฟแนนซ์ ตลอดจนสินเชื่อรถแลกเงิน ดังกล่าวไปแล้วนั้น
วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการผลักดันนโยบายพิโกไฟแนนซ์ และนาโนไฟแนนซ์ ของกระทรวงการคลังและรัฐบาลนั้น เป็นไปเพื่อดึงเจ้าพ่อ เจ้าแม่เงินกู้ “นอกระบบ” ที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนรายให้เข้ามา”ตี
ทะเบียน”ประกอบธุรกิจกิจที่ถูกต้องและอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะกำหนดมาตรการกำกับดูแล การประกอบธุรกิจของบรรดาเจ้าหนี้นอกระบบเหล่านี้ให้อยู่
ในร่องในรอย เป็นไปอย่างถูกกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนลูกหนี้ในระดับรากหญ้าต้องถูกเอารัด เอาเปรียบ จากการถูกโขกดอกเบี้ยเงินกู้มหาโหด หรือถูกยึดทรัพย์ ที่ดิน บ้าน รถมอเตอร์ไซด์ไปอย่างไม่เป็น
ธรรม
โดยรัฐและคลังยอมที่จะให้ผู้ประกอบการพิโกและนาโนไฟแนนซ์เหล่านี้ คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ได้สูงถึง 28 – 36 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
“การประกาศรุกตลาด สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์นาโนไฟแนนซ์และสินเชื่อรถแลกเงินของ เคทีซี ดังกล่าว ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) ของกระทรวงการคลังเองนั้นจึงไม่แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์และเป้าหมายของกระทรวงการคลัง ต่อการดึง เจ้าพ่อ เจ้าแม่เงินกู้นอกระบบ เข้ามาตีทะเบียนประกอบธุรกิจในระบบหรือไม่ เพราะ บริษัทบัตรเครดิตกรุงไทยหรือ KTC นั้น เป็นธุรกิจที่ให้บริการสินเชื่อ ภาย
ใต้การกำกับดูแล เขาทำอยู่แล้วหาที่เป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้นอกระบบแต่อย่างใด”
และไม่แต่เพียงเคทีซี ที่กระโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์ตลาดสินเชื่อ นาโน-พิโกไฟแนนซ์ ตลอดจนสินเชื่อรถแลกเงินเท่านั้น ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เกือบทุกแห่งต่างก็มีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาลุยตลาดสินเชื่อนา
โนและพิโกไฟแนนซ์ ตลอดจนรุกสินเชื่อรถแลกเงินชื่อว่านี้กันอย่างคึกคัก และถือเป็นธุรกิจที่กำลังสร้างดอกผลกำไรให้แก่ธนาคารในยามนี้ที่ดีที่สุด
ส่วนเจ้าพ่อ เจ้าแม่เงินกู้นอกระบบ ที่เป็นเป้าหมายหลัก ที่ภาครัฐและกระทรวงการคลังหวังจะให้เข้ามาจดแจ้งตีทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
จนวันนี้ ยอดจดทะเบียนนาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ หรือแม้แต่นาโนพลัส ที่กระทรวงการคลัง ตีฆ้องร้องป่าวออกไปล่าสุดนั้นก็ยังคงขยับตัวไปได้อย่างเชื่องช้า มีผู้ประกอบการเข้ามาตีทะเบีบนนาโน ไฟแนนซ์ และนา
โนพลัส ถึง 50 รายหรือยังก็ไม่แน่ใจ ส่วนพิโก ไฟแนนซ์ที่คาดว่าจะทะลักเจ้ามาเรือนพันหรือเรือนหมื่นรายนั้น วันนี้ลุ้นได้สัก 300-500 รายทั่วประเทศก็ยังยาก
ภาระหนักในการปราบปรามนายทุนเงินกู้นอกระบบจึงตกไปเป็นของศูนย์เฉพาะกิจปราบปรามหนี้เงินกู้นอกระบบ ที่นายกฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งขึ้น ที่ต้องออกแรงปราบปรามหนี้เงินกู้นอกระบบเรานี้อย่าง
หนัก
ขณะที่กระทรวงการคลัง และ ธปท. ยังคงมะงุมมะงาหรากับนโยบายขายฝันอันผิดเพี้ยนของตนเอง!!!!
โดย..แก่งหินเพิง
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=466