บทเรียน ทีวีดิจิทัล.. ก่อน กสทช. ลุย 5 จี ระวัง…ประเทศพังครืน !
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // ขณะที่ถนนทุกสายต่างจับตาการประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ (MHz) ที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะดำเนินการจัดสรรด้วยวิธีพิเศษ ให้แก่ค่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย ตามคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 ในวันที่ 19 มิถุนายน ศกนี้
ด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว จะส่งผลต่อการคืนใบอนุญาตของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทั้ง 7 รายที่แสดงความจำนงขอคืนไลเซ่นส์ต่อ กสทช.ไปก่อนหน้านี้
เพราะหากค่ายมือถือเข้ามาขอรับใบอนุญาตใช้คลื่น 700 MHz ดังกล่าวเพียง 1 รายตามที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวก่อนหน้า จะส่งผลกระทบต่อมาตรการเยียวยาทีวีดิจิทัล ที่ กสทช. ป่าวประกาศไปก่อนหน้า ทั้งใน
เรื่องเงินชดเชยแก่ผู้ประกอบการที่คืนใบอนุญาต การลดค่าเช่าบริการโครงข่ายภาคพื้น (MUG) เงินรายได้รำส่งรัฐหรือกระทรวงการคลัง และโดยเฉพาะเงินชดเชยต่อสื่อหรือลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในวงการสื่อที่คาดว่า
จะตกงานกันกว่า 2,000 คน
แต่การเร่งสปีดเปิดให้บริการ 5 จีในประเทศไทย ที่เลขาธิการ กสทช. ”ตีปี๊บ” เป็นรายวัน และงัดมาตรการในทุกรูปแบบเพื่อกรุยทางไปสู่จุดหมายดังกล่าว ถึงขนาดให้นายกฯ และหัวหน้า คสช. งัดคำสั่ง ม.44 มา
เซตซีโร่ทั้งอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลและธุรกิจโทรคมนาคมมือถือ รวมถึงจัดสรรคลื่นความถี่ข้างต้น ยังคงถูกสังคมตั้งคำถามว่าไทยจะเร่งรับไปหรือไม่ และเหตุใดจะต้องรีบเร่งกันขนาดนี้
ในเมื่อต่างประเทศนั้นยังขยับตัวไปไม่ถึงไหน ประเทศที่ออกโรงป่าวประกาศความสำเร็จในการพัฒนา 5จี นอกจากจะเป็นประเทศเจ้าของผู้ผลิตเทคโนโลยีที่มุ่งหวังจะขายเทคโนโลยีไปยังประเทศอื่นเป็นหลัก
ความสำเร็จที่ป่าวประกาศออกมาวันนี้ก็กลายเป็นหนามยอกอก เมื่อถูกคู่ค้าจับขึ้นมาเป็นตัวประกัน ทำสงครามทางการค้าอย่างเปิดเผย
แม้เลขาธิการ กสทช. จะยืนยันว่า หาก 5จี ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคการผลิตและอุตสาหกรรมที่จะสูญเสียโอกาสในการแข่งขันมากกว่า 7 แสนล้าน – ถึง 1.6
ล้านล้านบาท หรือ 20 -30 % ของมูลค่าเพิ่มทั้งหมด รวมทั้งส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิต และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นอกจากนี้ ยังจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆที่รัฐบาลได้วางรากฐานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น Smart City สมาร์ทฟาร์มมิ่ง Smart Hospital รวมถึงภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า
2.3 ล้านล้านบาท
แต่การเข้ามาของเทคโนโลยี 5จี ดังกล่าว ก็เป็น ”ดาบ 2 คม” ก็จะส่งผลกระทบตออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างน้อย 10 ภาคธุรกิจและสังคมเช่นกัน อาทิ 1. ภาคการเงินการธนาคาร ที่ผู้คนจะหันมาทำธุรกรรมทาง
การเงินบน Mobile Banking และสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น มีการใช้ AI วิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารเองจะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่
2. อุตสาหกรรมการผลิตที่จะเปลี่ยนมาเป็นหุ่นยนต์ในภาคการผลิตมากขึ้น จำเป็นต้องลดแรงงานลงไป 3. ภาคเกษตรจะสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นโดยใช้ IoT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเพาะ
ปลูกและควบคุมระบบการผลิตครบวงจรสู่สมาร์ทฟาร์มมิ่งเต็มตัว 4. ภาคการขนส่ง 5จี จะทำให้การขนส่งน้อยลงเพราะการติดต่อสื่อสารคนที่มีมากขึ้น
5. ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง เมื่อผู้คนหันมาช็อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้นใช้สมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมกันมากขึ้นบรรดาห้างน้อยใหญ่ทั้งหลายย่อมจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามมาหากไม่ปรับตัว 6. การท่องเที่ยว
7. การแพทย์จะเกิดการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตใช้ AI จ่ายยาแทนหมอเป็นต้น
ในเมื่อ กสทช. บอกเองว่าการเข้ามาของเทคโนโลยี5 จีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต ค้าปีก การเงิน การธนาคารหรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งยังไม่คาดจะคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่
เกิดขึ้นนั้น จะส่งผลให้ผู้คนหรือแรงงานต้องตกงานกันมากน้อยแค่ไหน
แล้วเหตุใด กสทช.ถึงต้องเร่งสปีดเพื่อให้เกิดบริการ 5 จีในประเทศก่อนประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วยเล่า !
บทเรียนจากการเร่ง “เปลี่ยนผ่าน” ทีวีดิจิตอลจากระบบอนาล็อกเดิม ที่ กสทช. โหมออกออกใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลออกมาเป็นกุรุดเมื่อ 3-4 ปีก่อน จนทำให้อุตสาหกรรมทีวี มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
ก่อนจะลงเอยด้วยการทยอยเจ๊งระเนระนาดดังที่เห็นในเวลานี้ ยังไม่ถือเป็นบทเรียนเพียงพอของการเร่งรัดผลักดันนโยบายบางประการที่เรายังไม่ศึกษาให้รอบด้านกันอีกหรือ!!!
ขณะที่ปัญหาพะรุงพะรังเดิม ทั้งกรณีทีวีดิจิทัลที่เจ๊งกันระนาว ไม่รู้เมื่อไหร่เลือดจะหยุดไหลในอุตสาหกรรมนี้ หรือกรณีการถลุงงบแจกกล่องทีวีดิจิทัลกว่า 22 ล้านใบ ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่นัยว่าจนถึงวันนี้ก็ยังคงปิด
บัญชีไม่ลง
ด้วยประชาชนที่ได้รับแจกคูปองไปเอาไปนอนกอดไว้บนหิ้ง จนต้อง ”ขายผ้าเอาหน้ารอด” ต้องไปลากเอากล่องทีวีดาวเทียมที่เขาทำธุรกิจของเขาอยู่ดีๆ มาผนวกเป็นเครือข่ายทีวีดิจิทัล เพื่อมาเป็นผลงานปกปิด
ความล้มเหลวของการแจกคูปองดิจิทัลหรือไม่ โดยที่กสทช.เองก็ยังไม่สามารถเคลียร์หน้าเสื่อเรื่องการเรียงช่องให้สะเด็ดน้ำนั้น
การจุดพลุผลักดันนโยบายเร่งรัดเปิดบริการ 5จี ออกมามันอาจกลายเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ไม่เพียงจะทำให้เส้นทางแก้ไขปัญหาเดิมมีความยุ่งยาก ยังจะทำให้กลายเป็นปัญหาวัวพันหลักมากขึ้นไปอีก
ก็อย่างที่เพจกลุ่มตรวจสอบ กสทช. ที่มี “สุวิทย์ มิ่งมล” ประธานสหภาพ บมจ. อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นโต้โผในการเปิดหน้าชนองค์กร กสทช. ด้วยการตีแผ่ผลงานความล้มเหลวและผลงานที่ถูกซุกเอาไว้ใต้
พรหมทั้งหลายนั่นแหล่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถลุงงบแจกคูปองดิจิทัลนับหมื่นล้านที่กลายมาเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
การแจกไลเซ่นส์ใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลออกมาเป็นกุรุด ทั้งที่นักวิชาการหลายฝ่ายป้องปากตะโกนบอกระวังจะเกิดปัญหาตามมาเป็นพรวน ซึ่งท้ายที่สุดก็เกิดปัญหาการล้มระเนระนาดของอุตสาหกรรม
สื่อทีวีอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ ปัญหาวิทยุชุมชนที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข การขึ้นเงินเดือนและแจกโบนัสให้กับตนเองและผู้ปฏิบัติงานทั้งที่ผลงานที่นำมาแสดงนั้นไม่ได้มาจากผลการปฏิบัติงาน ไหนจะเรื่องของเงิน
เดือน เบี้ยเลี้ยงเดินทางไปต่างประเทศ ตลอดจนการจ้างที่ปรึกษา คณะทำงานกันเป็นร้อย ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่สังคมคาใจในบทบาทขององค์กรนั้น
กสทช. ควรเร่งเคลียร์หน้าเสื่อ ทำความกระจ่างให้ผู้คนในสังคมได้เกิดความกระจ่างต่อผลงานความสำเร็จขององค์กรเสียก่อน จะลุยกำถั่ว 5 จีจะได้ไหม เพราะอย่าลืมว่าในเมื่อ กสทช. เองบอกเองว่าการเข้ามาของ
เทคโนโลยี5 จี และ IoT ,AI AR อะไรทั้งหลายแหล่เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการพลิกโฉมของอุตสาหกรรมครั้งใหญ่
หากมีผู้ที่ต้องตกงานทะลักกันเป็นแสน เป็นล้านคนซ้ำเติมเศรษฐกิจชาติที่กำลังพะงาบ ๆ อยู่เวลานี้ ทั้ง กสทช. และรัฐบาล “พปชร” ที่บางคนเอาไปเรียกซะเสียพังกันไปเป็นชาติๆ นั้น จะรับมือไหวหรือ
ก็ขนาดคนสื่อแค่ 2,000 คนที่ต้องตกงานในวันนี้ที่ออกโรงเรียกร้องให้ กสทช.เข้ามาดูแลให้ได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม กสทช. ก็ยังไม่มีฟีดแบคกลับมา !
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=416