ชะตากรรมอนาคต ธุรกิจ “อีคอมเมิร์ช”
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // สังคมมนุษยชาติ ยุค “ดิจิทัล เทคโนโลยี” ช่างเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็วนัก แค่ห้วงเวลาเพียง 20 ปีเศษเท่านั้น โลกก็ได้ประจักษ์แล้วว่า…พัฒนาการแห่งเทคโนโลยี ก้าวล้ำไปข้างหน้า
อย่างรวดเร็ว จนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ จากหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว ในช่วงที่พวกเขาเพิ่งรู้จัก “โทรศัพท์เคลื่อนที่” ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียกขานเป็น “โทรศัพท์มือถือ” แต่นั่น…มันเกิดขึ้นในยุค 2.0
กระทั่ง ก้าวสู่ยุค 3.0 ในอีกกว่า 10 ปีถัดมา และเข้าสู่ยุค 4.0 ในวันนี้…วลี “สังคมก้มหน้า” จากพฤติกรรมที่ผู้คนในสังคมโลก ต่างจมปรักอยู่กับ “ศัพท์ใหม่” ที่มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่กว่า นั่นคือ “สมาร์ทโฟน”
อุปกรณ์ที่เป็นมากกว่า “โทรศัพท์มือถือ” เพราะมันคือคอมพิวเตอร์พกพา ที่มาพร้อมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ และกล้องถ่ายรูปดิจิทัล
มากกว่านั้น “สมาร์ทโฟน” ยังเป็นเครื่องมือ “ทำมาหากิน” ให้กับใครอีกหลายคน หลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น… “นักเลงหุ้น-นักค้าเงิน-ทองคำ-หน่วยลงทุน” “นักขาย-นักการตลาด” “นักข่าว-ช่างภาพ” “นัก
คิด-นักเขียน” “นักร้อง-นักแต่งเพลง” และอื่นๆ รวมถึง “คนตัดต่อคลิปวีดิโอ” ที่จำเป็นจะนำต้องส่งเนื้องาน ผ่านช่องทางทีวีออนไลน์ของ You Tube สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับใครบางคนที่ว่านี้
ที่น่าจับมองคือ อาชีพ “คนขายของออนไลน์” ที่กำลังมากแรง และจะแรงมากๆ หากโลกแห่งเทคโนโลยี ได้ผ่านไปสู่ยุคที่เรียกว่า…5.0 ซึ่งสิ่งนี้ ก็คงจะอยู่อีกไม่ไกลนัก
เพราะนั่น จะทำให้พฤติกรรมการเลือกดูสินค้า ค้นหาข้อมูล เลือกดูจุดอ่อน-จุดแข็งของสินค้านั้นๆ ดูเสมือนจริงและทำได้อย่างรวดเร็ว มีมิติเชิงลึกมากยิ่งขึ้น อาจดูได้ใกล้ชิดจนแทบสัมผัสได้จริง มากกว่าการเดิน
ทางเพื่อไปดูสินค้าแบบเดียวกันที่โชว์รูม ในห้างสรรพสินค้า หรือสำนักงานขายฯ ด้วยซ้ำไป
แต่ข้อดีมักมากับข้อเสีย!…นั่นคือ ยิ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำมากเท่าไหร่? การตรวจสอบการซื้อขายถ่ายโอน ก็จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
ในวันที่โลกยังอยู่ในยุค 4.0 การวางแผน “ตามล้างตามเช็ด” เพื่อจัดเก็บภาษีของ “กรมภาษี” ในไทย โดยเฉพาะกรมสรรพากร และกรมศุลกากร อาจจะทำได้ไม่ดีนัก แต่หาก “อีคอมเมิร์ช” ในห้วงที่เทคโนโลยี
ก้าวล่วงไปสู่ยุค 5.0 แล้วล่ะก็…
ใครซื้อ? ใครขาย? จ่ายเงินกันเท่าไหร่? ผ่านช่องทางไหน?…หน่วยงานจัดเก็บภาษีของไทย คงสามารถตรวจสอบและวางแผน เพื่อตามไปจัดเก็บภาษีได้อย่างแน่นอน
ล่าสุด ไม่เพียงกรมสรรพากรจะลงมาศึกษาและมองหาช่องทางจัดเก็บภาษี จากธุรกิจ “การค้าออนไลน์” หรือ “อีคอมเมิร์ช” เท่านั้น หากแต่กรมศุลกากรเอง ยังคงจับจ้องกับช่องทางการค้ารูปแบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะ “โฆษกกรมศุลกากร” ย้ำเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า หนึ่งในพันธกิจจากนี้ไปของกรมศุลกากร จำเป็นต้องมุ่งเน้น
เดินไปตามกรอบความร่วมมือขององค์การศุลกากรโลก ที่มีข้อสรุปร่วมกันตามแผนยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก คือ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การป้องปราม/ปกป้องสังคม และการเพิ่มศักยภาพ
การทำงานของบุคลากร
โดยในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางการค้า องค์การศุลกากรโลกอยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงอนุสัญญาว่าด้วยการทำพิธีการศุลกากรให้ง่ายและเป็นรูปแบบเดียวกัน (Revised Kyoto Convention) เพื่อให้
ทันสมัย สอดคล้องกับธุรกรรมการค้าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนุสัญญาฯ นี้ อาจถือได้ว่าเป็น “แม่บท” ของพิธีการศุลกากรที่ศุลกากรต่างๆ ยึดถือในการพัฒนาพิธีการศุลกากรในประเทศของตน
ทั้งหมดนี้ “สำนักข่าวเนตรทิพย์” เพียงแค่จะบอกว่า…กรมศุลกากรทั่วโลกกำลังมองหาช่องทางเพื่อจะได้เข้ามาขอมีเอี่ยว “จัดเก็บภาษี” สำหรับสินค้าที่มีการซื้อขายผ่านระบบ “อีคอมเมิร์ช” และถูกส่งนำเข้ามายัง
ประเทศปลายทางของตน
เพียงแต่รายละเอียดต่างๆ ในขณะนี้…ยังไม่มีการสรุปกันอย่างแน่ชัดเท่านั้น
แม้ยุค 4.0 เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจทำให้การจัดเก็บภาษีนำเข้าจากธุรกิจ “อีคอมเมิร์ช” เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก กระนั้น ก็มีความพยายามที่จะเข้ามาดำเนินการ “จัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าออนไลน์” ของกรม
ศุลกากรทั่วโลก เนื่องเพราะบนเวทีหารือของสมาชิก “องค์การศุลกากรโลก” เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้มีข้อเสนอให้กรมศุลกากรทั่วโลก ทำการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจาก “ตัวกลาง” หรือบริษัทรับส่ง
พัสดุภัณฑ์ หรือไม่ก็…จัดเก็บภาษีเอาจาก “ต้นทาง” หรือบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศนั้นๆ
“สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลใจ คือ กรมศุลกากรประเทศต่างๆ จะรับมือกับการค้าอีคอมเมิร์ช ที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลกได้อย่างไร? หากเข้มข้นมากไป ก็อาจส่งผลกระทบกับการค้ารูปแบบใหม่ได้ แต่หากไม่มีมาตรการ
มารับมือและป้องกัน ก็อาจจะส่งผลเสียตามมา โดยเฉพาะการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคในประเทศปลายทาง” นี่คือ เหตุผลที่ “โฆษกกรมศุลกากร” บอกเอาไว้…
แล้วก็ใช่ว่า…ข้อเสนอข้างต้น จะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า…บนความร่วมมือของสมาชิกฯในระดับองค์การศุลกากรโลก จะมีความเข้มแข็งและเข้มข้นมากแค่ไหน?
อย่างไรก็ตาม “สำนักข่าวเนตรทิพย์” เชื่อว่า คงจะมีการหารือกันอีกหลายครั้ง…กว่าจะได้ข้อสรุป เพื่อให้สมาชิกได้นำไปเป็นกรอบในการดำเนินงาน (จัดเก็บภาษี) ต่อไป
ทั้งนี้ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า…มูลค่า “การค้าออนไลน์” หรือ “อีคอมเมิร์ช” ของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่า…เติบโตอย่างก้าวกระโดด เหตุผลที่ นางสุรางคณา วายุภาพ ผอ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ. หรือ ETDA) ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้ไว้ระหว่างร่วมงาน Thailand e-Commerce Week 2019 เมื่อช่วงต้นปีนี้ คือ…
“ผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ช) ของไทย เติบโตอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง 8-10% ต่อปี โดย ETDA จัดเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 2557 และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วง 10 ปีที่
ผ่านมา พบว่าจากจำนวนเพียง 9.3 ล้านคน ในปี 2551 ปัจจุบันมีคนใช้มากถึง 45 ล้านคน สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย การพัฒนาของเครื่องมือสื่อสาร และราคาที่ถูกลง ทำ
ให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตไปด้วย ทั้งจำนวนผู้ซื้อ ผู้ขายทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น สอดรับกับจำนวนแพลตฟอร์มโดยผู้ประกอบการในไทยและต่างประเทศเกิดขึ้น
เป็นจำนวนมากเช่นกัน”
ส่วนเพราะระบบการชำระเงิน ที่เรียกว่า e-Payment เติบโตแบบก้าวกระโดด และอีกส่วนหนึ่งมาจากระบบโลจิสติกส์ (การขนส่งและจัดส่งพัสดุภัณฑ์) ที่เติบโตอย่างเข้มแข็ง จึงไม่แปลกใจที่ไทยจะก้าวขึ้น
เป็น…ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน หลังจากพบว่ายอดซื้อขายผ่าน “อีคอมเมิร์ช” ของปี 2560 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึงกว่า 1 แสน 6
หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ได้ประมาณการต่อยอดจากที่ ETDA ประเมินไว้ โดยคาดการณ์ว่า…มูลค่าการซื้อขายผ่านระบบ “อีคอมเมิร์ช” ในไทย ปี 2562 นี้ น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีสูงถึง 3.2
ล้านล้านบาท จนไปอยู่ที่ระดับ 3.5 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย
หากเป็นจริง! สิ่งนี้…ก็ไม่น่าแปลก ที่จู่ๆ “กรมภาษี” อย่าง…กรมสรรพากร ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากรายได้ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) รวมถึงกรมศุลกากร ที่คอยจัดเก็บภาษีจากตัว
สินค้าที่มีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย จะให้น้ำหนักความสำคัญกับ “การค้าออนไลน์” หรือ “อีคอมเมิร์ช” มากถึงเพียงนี้
จากนี้…จึงน่าจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า สิ่งที่ “กรมภาษี” และต้นสังกัดอย่าง กระทรวงการคลัง เรียกขานว่าเป็น….“การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี” จะพุ่งความสนใจ มา “โฟกัส” เอากับธุรกิจการค้าในโลกยุค
ใหม่ กระทั่งมีการ “เดาสุ่ม” กันว่า…สิ่งนี้ จะเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง “ดิจิทัล เทคโนโลยี” ระดับ 5.0 จะเกิดขึ้นกับเมืองไทย???
แต่ที่แน่ๆ ทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย เรื่อยไปจนถึงรายใหญ่และรายยักษ์ คงต้องผจญ และเผชิญกับสภาวะ “รีดเลือดปู” จาก “กรมภาษีเมืองไทย” ในยุคที่รัฐบาลหาเงินไม่เก่ง แต่ใช่จ่ายเก่งเกินตัว
มากขนาดนี้อย่างแน่นอน
และเป็นอย่างนี้ไปจนกว่า…จะมีใครจะล้มหายตายจากกันไปข้างนึง
“สำนักข่าวเนตรทิพย์” จึงขอถามเอากับท่านผู้อ่านบทความชิ้นนี้ ว่า…ถึงตรงนี้ รู้หรือยัง? ว่า…ชะตากรรม…อนาคต ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ “อีคอมเมิร์ช” ในเมืองไทยและทั่วโลก….จะเป็นเช่นใด?.
โดย..กากบาทดำ
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=408