ปาหี่ประมูลดิวตี้ฟรี (อีกที) ! ทุนเก่ากินรวบ..หน้าใหม่อย่าหวังแจ้งเกิด !
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // ลุ้นระทึก เข้มข้นและใกล้งวดขึ้นมาทุกขณะ..
กับเส้นทางการจัดตั้ง “รัฐบาลร้อยพ่อพันแม่” ที่มีการพลิกผัน พลิกขั้ว งัดชั้นเชิงขึ้นมาขบเหลี่ยมกัน ชนิดที่ทำเอา “บิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เคยมีอำนาจเด็ดขาดอยู่ในมือ ก็แทบจะไปไม่เป็นเช่นกัน
แต่ที่แทบจะไม่ต้องลุ้น ให้เสียเวลาแค่ดูรายชื่อผู้เข้าชิงดำก็ฟันธงฉับกันไว้ล่วงหน้าว่า กลุ่มทุนใดจะ ”คว้าพุงปลา” ไปนั้น ก็เห็นจะเป็น “การประมูลสิทธิประกอบกิจการร้านปลอดภาษี หรือ ดิวตี้ฟรี และสิทธิในการ
บริหารร้านค้า” ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)
หลังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดให้เอกชนที่ซื้อซองประกวดราคาไปก่อนหน้าเข้ายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและรายชื่อกลุ่มผู้ร่วมทุนไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กำหนดเปิด
ซองประมูลชี้ขาดกันในวันสองวันข้างหน้านี้
โดยในส่วนของการประมูลสิทธิ์ประกอบกิจการดิวตี้ฟรี นั้น มีผู้เข้าซื้อซองประมูลทั้งสิ้น 5 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี 2. บางกอกแอร์เวย์ส ร่วมกับล็อตเต้ ดิวตี้ฟรีของเกาหลีใต้ 3. กิจการร่วม
ค้ารอยัลออคิด ร่วมกับ ROH ที่มีประสบการณ์ดิวตี้ฟรีในประเทศอังกฤษ 4. บริษัทสรรพสินค้าเซ็นทรัล และบริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ ผู้ประกอบกิจการดิวตี้ฟรีในสนามบินสิงคโปร์ และ 5. บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์
เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
แต่ยังไม่ทันข้ามวันที่คณะกรรมการประกวดราคาจะเริ่มดำเนินการพิจารณา ก็เกิด ”ปรากฏการณ์ถอดใจ” ขึ้นมา โดยกลุ่มบริษัทเอกชน 2 รายก็ได้ขอถอนตัวออกไปก่อน คือ “กลุ่มเซ็นทรัล และไมเนอร์ กรุ๊ป” จึง
ทำให้เหลือผู้ประมูลอยู่เพียง 3 รายเท่านั้น
ขณะที่การประมูลสิทธิในการบริหารร้านค้าในอาคารผู้โดยสาร ที่มีผู้เข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 4 ราย ประกอบด้วย1. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2. คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ 3. บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ 4.
เดอะมอลล์ กรุ๊ป นั้น
ปรากฎว่า จู่ๆ ทางเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้ขอถอนตัวออกไปเช่นกัน ขณะที่ บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือไมเนอร์กรุ๊ปนั้น ถูกคณะกรรมการตัดสิทธิไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ด้วยเหตุผลที่ทำเอาทุกฝ่าย
ได้แต่อึ้งกิมกี่ เพราะ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้..
ทั้งที่ทุกฝ่ายต่างก็รู้กันดีว่า ภายใต้ บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีบริษัทในเครือที่มีประสบการณ์บริหารร้านอาหาร โรงแรม และร้านค้าปลีกชื่อดังมากมาย ทั้ง Sizzler,
Swensen,s, Burger King, The Pizza Company แต่ก็กลับถูกตัดสิทธิขึ้นมาดื้อๆ
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์ ได้รับการเปิดเผยจากผู้คว่ำหวอดในวงการดิวตี้ฟรี ว่า การประมูลสิทธิประกอบกิจการ Duty Free ในครั้งนี้แทบจะเป็นมหกรรมปาหี่ที่มีการล็อคสเปคกันตั้งแต่ในมุ้ง และ
เป็นการยากที่ผู้ประกอบการรายใหม่ หรือดิวตี้ฟรีต่างประเทศจะแหกวงล้อมเข้ามาได้
“ลำพังเฉพาะการตั้งเงื่อนไขทีโออาร์สุดพิสดาร ที่ ทอท. ตั้งเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค ประสบการณ์ และแผนการตลาดเอาไว้ถึง 80% และพิจารณาข้อเสนอทางการเงินหรือผลตอบแทนแก่ ทอท. เพียง
20% นั้น ก็แทบจะ “ปิดประตูลั่นดาน” หนทางเกิดของดิวตี้ฟรีหน้าใหม่อยู่แล้ว เพราะแม้จะเสนอผลประโยชน์ตอบแทนแก่ ทอท. สูงลิบลิ่วนับแสนล้านบาท แต่ก็แทบไม่มีความหมายหากคณะกรรมการไปพิจารณา
ให้น้ำหนักข้อเสนอทางเทคนิค แผนการเงิน และการตลาดแทน”
มีข้อสังเกตว่า คนใน ทอท. ที่เดินเกมอยู่เบื้องหลังการประมูลในครั้งนี้ ยังวางหมากสุดแยบยลเอาไว้อีกหลายขยักเริ่มตั้งแต่..
1. หากกลุ่มทุนเดิมเกิดพ่ายประมูลดิวตี้ฟรีขึ้นมาจริงๆ (ซึ่งยากจะเกิดขึ้น) ทอท. จะเร่งปัดฝุ่นนำโครงการประมูลสิทธิบริหารจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะ หรือ Pick up counter ขึ้นมาประมูลต่อเนื่อง เพื่อ “ปลดล็อก”
ให้การประกอบการร้านปลอดอากรในเมือง หรือ Downtown Duty free ให้สามารถประกอบกิจการโดยไม่มีข้อจำกัด
2. ผลที่ตามมาจะทำให้กลุ่มทุนเดิม แทบจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งยังคงความได้เปรียบผู้ประกอบกิจการดิวตี้ฟรีรายใหม่ได้อีก เนื่องจากการประกอบกิจการดิวตี้ฟรีในเมืองนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานใดๆ ให้
แก่ ทอท. หากปราศจากข้อจำกัดเรื่องสถานที่ส่งมอบสินค้าในสนามบินแล้วและจ่ายเพียงค่าบริการจุดส่งมอบสินค้าเท่านั้น ก็จะทำให้ผู้ประกอบการที่ได้สัมปทานไปนั่งไม่ติดแน่
“เจอไม้นี้เข้าต่อให้เป็นดิวตี้ฟรีระดับโลก ก็คงหืดจับหายใจไม่ทั่วท้อง เพราะคงไม่สามารถจะแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเดิมที่ผูกขาดดิวตี้ฟรีอยู่ในเมืองได้ แถมอาจถูก ทอท . ปรับ Minimum Guarantee หากผล
ประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยอีก”
3. อย่างไรก็ตาม เมื่อเงื่อนไขการประมูลสุดพิสดารข้างต้น ไม่ถูกรัฐบาลกระตุกเบรก ก็คงเหลือแต่การรอดูผลการประมูลสิทธิบริหารร้านค้าเชิงพาณิชย์ที่ประมูลควบคู่กันไปในครั้งนี้ หากกลุ่มทุนรายเดิมชนะ
ประมูลทั้ง 2 สัมปทาน (ซึ่งมีแนวโน้มสูง) เส้นทางการประมูลสิทธิบริหารจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะ ก็อาจถูกดึงหรือรอไปชาติหน้า หรือแทบไม่มีความจำเป็นใด ๆ อีก
4. ส่วนผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่คิดจะจัดตั้ง Downtown Duty free ในเมืองนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดิม เพราะไม่เพียงจะต้องไปฝ่าด่านการได้รับอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน จากศุลกากรก่อน ยังต้องมีรอให้
ทอท. จัดตั้งจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะในสนามบินให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งไม่มีหลักประกันใดว่าจะทำได้ง่าย หากกลุ่มทุนเจ้าของสัมปทานดิวตี้ฟรีชนะการประมูลแบบลอยลำเช่นเดิม
“ดูคู่แข่งที่เข้าประมูลในเวลานี้ก็แทบจะแบเบอร์แล้วว่าโอกาสที่ดิวตี้ฟรีนอกทั้งหลายจะเบียดเข้าวินนั้นแทบจะถูกปิดประตูลั่นดานกันไปแล้ว เพราะ ทอท. ไม่ได้พิจารณาที่เกณฑ์ผลประโยชน์สูงสุดเข้า ทอท. แต่
พิจารณาจากชื่อชั้น ประสบการณ์ แผนการเงินและการตลาด ตลอดจนการวางเลย์เอาท์ ซึ่งใครจะไปสู้รายเดิมที่มีอยู่แล้วได้ เพราะการจะไปปรับเปลี่ยนเลย์เอาท์ใด ๆ ย่อมกระทบไปถึงแผนแม่บทการใช้สนามบิน
โดยรวม ดังนั้นการประมูลครั้งนี้ จึงแทบจะเป็นมหกรรมปาหี่โดยแท้ ”
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=398