กลไกผลิตเงินส่วนบุคคล ลดเหลื่อมล้ำ รอรัฐหนุน

1 min read

พิมพ์ไทยออนไลน์ // หลังได้ฟังการจัดสรรผลประโยชน์มาหลายวงกับกลุ่มที่สามารถชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สส.มาได้ ต้องยอมรับว่า อำนาจเป็นสิ่งหอมหวลที่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งอำนาจเก่า กลุ่มคนมีสี รวมทั้งนักการเมือง ต่างต่อรองแย่งชิง หากพลาดตำแหน่งรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย ก็หวังตำแหน่งอื่น ไปจนถึงตำแหน่งในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะมีขึ้น เป็นเครื่องตอบแทนที่ลงเงินลงแรงช่วยให้พรรคได้ชนะเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา

 

 

โดยวิธีการต่อรองผลประโยชน์มีตั้งแต่ร้องขอไปจนถึงข่มขู่ขนอาวุธมาโชว์กันเป็นเข่งเหมือนในภาพยนตร์ ซึ่งการต่อรองช่วงนี้คงยังมีอีกยาวไปเป็นเดือน หลังเลือกประธานสภา เลือกนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะ
รัฐมนตรี และตำแหน่งอื่นๆ ที่คงต้องมีแรงกระเพื่อมตามมาแน่

นอกจากการ ”แบ่งเค้กการเมือง” ที่ค่อนข้างลงตัวยากดังกล่าว ระเบิดเวลาถัดไปที่รัฐบาลใหม่ต้องเจอ คือ ”ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องชาวบ้าน” ที่รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลังมากขึ้น เมื่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจโดยมีรายได้หลักกว่าครึ่งมาจาก ”การส่งออกที่อยู่ในสภาพติดลบ” ทำให้เงินในกระเป๋าประชาชนเหี่ยวลงไปด้วย เพราะการส่งออกติดลบ กระทบโรงงานหลายแห่งสั่งลดการทำงานล่วงเวลาหรือโอที ซึ่ง
เป็นที่ทราบกันว่า กลุ่มลูกจ้างโรงงานแค่เงินเดือนหลัก ส่วนใหญ่ไม่พอใช้ ต้องพึ่งรายได้จากค่าโอทีหรือเบี้ยขยัน หากโดนลดหรือไม่มีรายได้จากค่าโอทีปัญหานี้ถ้าทิ้งไว้นาน แรงงานกลุ่มนี้ปั่นปวนแน่

เหมือนกับกลุ่มเกษตรกรที่ราคาพืชผลการผลิตส่วนใหญ่ยังราคาตกต่ำไม่คุ้มต้นทุนผลิต ยังไม่นับ ”คนตกงาน” ที่ทยอยเพิ่มมากขึ้น เช่นจากวงการธนาคาร วงการสื่อที่อีก 3-4 เดือน คาดกันว่าจะมีคนตก
งานเพิ่มจากวงการทีวีกว่า 1,500 คน หลังทีวีดิจิทัล 7 ช่องคืนใบอนุญาต

ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาเท่าที่ได้ยิน มีการเตรียมมาตรการอัดฉีดเงินลงไปในหลายกลุ่ม และถือเป็นการสร้างสีสันช่วงเริ่มต้นรัฐบาลใหม่ที่ต้องลดแลกแจกแถมเอาฤกษ์เอาชัยอย่างเต็มที่ ในการนี้
ถ้าจะทำให้ดีไม่ควรออกมาตรการแค่หวังผลระยะสั้น ควรออกมาตรการที่ได้ผลระยะยาวสร้างความยั่งยืนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้

ซึ่งแนวคิดตั้งกองทุนส่วนบุคคลเหมือนเป็น ”เครื่องผลิตเงิน” ซึ่งสิงคโปร์สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู ออกเป็นนโยบายและใช้มาต่อเนื่องนับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ..

ตามหนังสือ From Third to First ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรี “ลี กวนยู” เขียนถ่ายทอดประการณ์ที่สร้างประเทศสิงคโปร์มาตั้งแต่อิฐก้อนแรกจนรากฐานแข็งแกร่งดันให้สิงคโปร์เป็นประเทศระดับแนวหน้าของโลก
ในหลายด้าน ด้วยการใช้เวลาแค่ช่วงอายุคนหนึ่งคน โดยหนึ่งในหลายแนวคิด ขอว่าตามที่”ภาววิทย์ กลิ่นประทุม”ว่าไว้ในหนังสือคิดแบบภาววิทย์สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊ค คือแนวคิดเรื่องการสร้างเครื่องผลิตเงินส่วน
บุคคล ด้วยนโยบายตั้ง ”กองทุนส่วนบุคคลที่ใช้ลงทุนเพื่ออนาคต” หรือ ซีพีเอฟ (Central Provident Fund)

หลังจากพบว่า การพัฒนาสิงคโปร์ผ่านไประดับหนึ่ง ประเทศเริ่มมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น คนรวยยิ่งรวย คนจนยิ่งจน เพราะตามการพัฒนาไม่ทัน รวมทั้งช่วงนั้นระบอบคอมมิวนิสต์เริ่มเข้าแทรกใน
แถบเอเชียให้ต้องเลือกระหว่างระบอบทุนนิยมประชาธิปไตย กับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งสิงคโปร์เลือกระบอบทุนนิยม

ทั้งนี้ ในการใช้กองทุนซีพีเอฟมาสร้างรายได้ให้ประชาชนพร้อมลดเหลื่อมล้ำ สิงคโปร์ออกนโยบายให้ทุกคนที่มีรายได้ต้องส่งเงิน 20% เข้ากองทุนซีพีเอฟ และนายจ้างต้องสมทบเพิ่มอีก 16% ซึ่งประเทศ
ไทยขณะนี้อาจยังไม่ต้องกำหนดส่งเงินสมทบสูงถึงขนาดนี้ก็ได้

จากนั้น ให้ทุกคนเลือกว่าจะแบ่งการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทใด เช่นลงทุนซื้อบ้าน ลงทุนกองอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในหุ้น ลงทุนในกองทุน หรืออื่นๆ เหมือนเป็นการที่รัฐสอนให้ออมเงินและสร้างราย
ได้จากเงินที่ออม เพราะการฝากเงินปัจจุบัน ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้ว เมื่อนำเงินฝากมาหักเงินเฟ้อ ค่าเงินที่ออมไว้จะด้อยค่าลงเรื่อยๆ

แต่การเลือกลงทุนดังกล่าวก็ต้องให้ความรู้ถึงความเสี่ยง ซึ่งในสิงคโปร์หลังจากตั้งกองทุนนี้ คนสิงคโปร์ส่วนใหญ่ใช้กองทุนนี้ไปลงทุนซื้อบ้าน ทำให้รัฐได้สองเด้ง คือ เมื่อคนมีภาระคนจะสู้งานหนัก และเมื่อ
รู้สึกว่ามีความเป็นเจ้าของมีความภูมิใจก็มีเป้าหมายต้องทำให้สำเร็จ

ในช่วงที่รัฐ ยังไม่มีนโยบายดังกล่าวมาบังคับให้ออม ทุกคนก็ควรจะหาได้และใช้เป็น นำเงินที่อุตสาห์มีวินัยจนเก็บได้เป็นกอบเป็นกำ ไปสร้างรายได้ให้มากขึ้น เพราะดอกเบี้ยเงินฝากยังต่ำเมื่อเทียบกับเงิน
เฟ้อ จึงต้องไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ต้องรู้ถึงความเสี่ยงที่จะตามมา เพื่อไม่ให้เป็นเหมือนที่มหาเศรษฐี “บิล เกต” เจ้าของไมโครซอฟต์พูดว่า “มันไม่ได้ผิดถ้าคุณจะเกิดมาเป็นคนจน แต่ถ้าคุณจนตาย นั่นแหละ
คือความผิดของคุณ”

Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=362

You may have missed