กทม. จับมือ ทรู กินรวบท่อร้อยสายสื่อสาร มัดมือชก บีบผู้ให้บริการต้องเช่าแพงโคตร
1 min read
พิมพ์ไทยออนไลน์ // ทีโอที-สมาคมโทรคมนาคม เงิบ จัดทำแผนจัดระเบียบสายสื่อสาร-ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินอยู่ดีๆ เจอ กทม.- ทรู ปาดหน้าเซ็นสัญญายกสัมปทาน 30 ปีให้กันไปดื้อๆ แถมจ่อบังคับผู้ให้บริการสาย
สื่อสารทุกรายต้องเช่าใช้ในราคาแพงลิ่ว จี้รัฐทบทวนให้สัมปทานผูกขาด ชี้แทนจะให้หน่วยงานรัฐทีโอทีได้ลืมตาอ้าปากมีงานทำ กลับประเคนสัมปทานให้เอกชนชุบมือเปิบ
นโยบายจัดระเบียบและดึงสายสื่อสารระโยงระยางลงใต้ดิน เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารในเขต กทม. ที่เคยเป็นข่าวเกรียวกราว จนถูกสื่อทั่วโลกนำไปตีแผ่ประจานกรุงเทพมหานครให้ได้อายมาแล้วนั้น กำลังจ่อระอุแดดขึ้นมาอีก
ครั้ง เมื่อ กทม.ซุ่มจับมือกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นฯ จ่อกินรวบสัมปทานโครงการนี้ถึง 30 ปี ก่อนเตรียมบังคับผู้ให้บริการทุกรายเช่าใช้ในราคาแพงลิบลิ่ว
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการ กทม. พร้อม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กสทช.) ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการบริหารจัดการนำสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพฯ ลงใต้ดิน เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารให้มีความเป็นระเบียบตามนโยบายรัฐบาล และมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปที่จะให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของ กทม. เป็นผู้ดำเนินโครงการฯ โดยก่อนหน้านี้บริษัท กรุงเทพธนาคมฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายประเภทที่ 3 จาก กสทช. เรียบ
ร้อยแล้ว และมีแผนที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวเอง โดยไม่ร่วมกับบริษัททีโอที
โดย กทม. ตั้งเป้าภายใน 2 ปี จะนำสายสื่อสารตามถนนสายหลักและสายรอง ความยาวรวม 2,450 กิโลเมตร ลงใต้ดินทั้งหมด และได้เปิดให้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทซัพพลายเออร์รับเหมาก่อสร้างระบบท่อร้อยสายดังกล่าว
เรียบร้อยแล้ว โดย แบ่งการทำงานเป็น 4 พื้นที คือ กรุงเทพเหนือ กรุงเทพตะวันออก กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ โดยภายในปี 2562 นี้ จะต้องนำสายสื่อสารลงใต้ดิน 150 กม. ขึ้นไป
ล่าสุด มีรายงานว่า ทางบริษัท กรุงเทพธนาคมฯ เตรียมที่จะลงนามในสัญญา กับบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการติดตั้งและทำการตลาดโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินข้างต้น โดยบริษัทลูกของกลุ่มทรู จะได้
รับสัมปทานติดตั้งและทำการตลาดท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินทั้งหมดของ กทม. มูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี
อย่างไรก็ตาม การให้สัมปทานโครงการท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินของ กทม. ข้างต้น กำลังถูกวิพากษ์อย่างหนักจากวงการโทรคมนาคมว่า เป็นการเซ็งลี้สัมปทานไปให้เอกชนรายเดียวผูกขาด ไม่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการดี
อีก่อนหน้านี้ ที่ให้ กทม. เร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบและนำสายสื่อสารระโยงระยางลงใต้ดิน
อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ บริษัททีโอที และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็มีโครงการก่อสร้างระบบท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทอยู่แล้ว และเป็นแผนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกร
รมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปแล้วเช่นกัน
ในส่วนของสมาคมโทรคมนาคม จะได้มีการจัดทำแผน จัดระเบียบ และนำสายสื่อสารลงใต้ดินเช่นเดียวกัน โดยมีการจัดตั้งคณะทํางาน ศึกษาและจัดทำโมเดลร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อที่จะหาโมเดลที่เหมาะสม
รองรับ เนื่องจากเห็นว่าบางพื้นที่นั้นไม่จำเป็นจะต้องนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพราะจะเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการ อีกทั้งยังเห็นว่า อัตราค่าบริการเดิมที่บริษัททีโอที จะคิดกับผู้ใช้บอกผู้ให้บริการสูงเกินไปไม่จูงใจให้ผู้ใช้บริการ
“การที่ กทม. มาให้สัมปทานวางโครงข่ายท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินเอกชนเพียงรายเดียวดังกล่าว จึงถือเป็นการดำเนินการที่ขัดแย้งกับมติคณะกรรมการดีอีและนโยบายรัฐบาล แทนที่รัฐ และ กทม. จะส่งเสริมสนับสนุนบทบาท
ของทีโอทีในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อให้ทีโอทีได้ลืมตาอ้าปาก เพราะเป็นงานถนัดของทีโอทีอยู่แล้ว แต่ กทม. กลับมีหนังสือเวียนไปยังทุกสำนักงานเขตห้ามหน่วยงานอื่นๆ ก่อสร้าง หรือขุดขยายถนนเพื่อติดตั้งท่อร้อย
สายสื่อสารใต้ดิน รวมทั้งการพาดสายสื่อสารใดๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นการดำเนินโครงการของทีโอทีและและสมาคมโทรคมนาคมไปโดยปริยาย เพื่อหวังบีบให้ผู้ใช้บริการทุกรายจะต้องมาเช่าใช้โครง
ข่ายที่ร้อยสายที่บริษัทกรุงเทพธนาคมและทรูกำลังกำเนินการอยู่นี้”
แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า ล่าสุดทางทรูและกรุงเทพธนาคมได้โค้ดราคาค่าเช่าท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ออกมาแล้ว ซึ่งแพงกว่าราคาที่บริษัททีโอที เสนอให้กับบริษัทสื่อสารและผู้ให้บริการสายสื่อสารก่อนหน้านี้ถึง 3 เท่า จึงทำ
ให้ทั้งทีโอทีและสมาคมโทรคมนาคม เตรียมทำเรื่องให้ คสช. กระทรวงดีอีและรัฐบาลได้ทบทวนโครงการดังกล่าว.
Cr. : เนตรทิพย์ออนไลน์
http://www.natethip.com/news.php?id=519