EA ส่ง บ.ย่อย “กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช” เซ็น MOU กับ สอวช. “โครงการ บพข. – GTR” ร่วมวิจัยพัฒนา “ปาล์มน้ำมัน” สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของไทย

1 min read

EA ส่ง บ.ย่อย “กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช” เซ็น MOU กับ สอวช. “โครงการ บพข. – GTR” ร่วมวิจัยพัฒนา “ปาล์มน้ำมัน” สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของไทย

 

วานนี้ 11 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 ชั้น 114 อาคารจัสตุรัสจามจุรีสแควร์ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ส่ง บจก.กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด (GTR) หรือบริษัทย่อย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมมือโครงการ บพข. – GTR เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรม ภายใต้การนำองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของประเทศไทย

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ เปิดเผยว่า บจก. กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช (GTR) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เซ็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สอวช. โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดสรรทุนวิจัยและสร้างนัวตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงสนับสนุนถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการทุน

บริษัท กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด หรือ GTR มีพันธกิจหลักในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของกลุ่ม EA โดยมีการสร้างมูลค่าเพิ่มกับวัตถุดิบทางเลือกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงส่งผลให้บริษัทมุ่งเน้นการศึกษาสารโอลีโอเคมีคัลส์ที่ผลิตจากวัตถุดิบทางธรรมชาติอย่าง “ปาล์มน้ำมัน” ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน แต่ยังประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและความไม่แน่นอนของราคา ซึ่งส่งผลโดยตรงตั้งแต่ระดับเกษตรกรจนถึงระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพและการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่เหมาะสม ส่งผลให้บริษัทฯ ได้จัดทำแผนส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยกลุ่มเรื่องปาล์มน้ำมันตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อมุ่งตอบสนองการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จึงทำให้เกิดความร่วมมือโครงการ “บพข.-GTR” ในครั้งนี้

“ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการร่วมวิจัยพัฒนาระหว่างรัฐและเอกชน อันจะสร้างคุณค่าเพิ่มและประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมภายในองค์ความรู้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เทคโนโลยีด้านอื่นๆ และวิศวกรรมมาบูรณาการและพัฒนาผ่านงานวิจัยที่เอกชนเห็นว่ามีศักยภาพทางการตลาดสามารถนำไปพัฒนาเพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ โดยดำเนินร่วมกับสอวช.(บพข.) ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรม สอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของประเทศไทย และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างกันและกัน” นายอมรกล่าวในที่สุด

You may have missed